Home
HOME
PRODUCTS
CAREER
CONTACT US
ETHICAL CODE
Email
Ethical Code
Anti-Corruption Policy
นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริต การให้หรือรับสินบน
ด้วยบริษัท เอเอ. นุ๊กเทค จำกัด (AA. NUCTECH COMPANY LIMITED) มีความมุ่งมั่นที่จะยึดมั่นความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี โดยมุ่งที่จะดำเนินการบริหารธุรกิจ กิจการด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตอย่างมีจริยธรรม ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณทางวิชาชีพและคุณธรรมที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และระเบียบของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน อย่างเคร่งครัดในทุกกิจกรรมการดำเนินงานทุกสัดส่วน รวมถึงปฏิเสธ และต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน บริษัทฯ จะปลูกฝังจิตสำนึกกับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทุกระดับให้ยึดมั่นในจรรยาบรรณ
จริยธรรม และคุณธรรมในการดำเนินงานและให้บริการอย่างเคร่งครัด บริษัทฯ จึงจัดทำ “นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนแก่เจ้าหน้าที่ และพนักงานภายในบริษัทฯ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจและพัฒนาสู่องค์กรที่ยั่งยืน และให้เกิดความมั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มีความส่อเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตและคอรัปชั่นนั้น จะเป็นไปอย่างรอบคอบและไม่ส่งเสริมการทุจริตหรือติดสินบนเพื่อให้บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมจากทั้งภาครัฐ หรือเอกชนใดๆ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
คำนิยามตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
Definitions Anti-corruption Policy
“ผู้ประกอบการ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ เช่นบริษัทฯ ห้างหุ่นส่วน กิจการร่วมค้า
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวาด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานธุรการของศาล มหาวิทยาลันในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“เจ้าพนักงานของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติและให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และบุคคลหรือคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครอง ที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการเสนอราคา
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการกำกับดูแล และดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการเสนอราคา
“พนักงาน” หมายความว่าพนักงานประจำภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน พนักงานทดลองงาน และพนักงานที่มีสัญญาจ้างพิเศษ
“ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือมีผลประโยชน์ใดๆ กับการดำเนินธุรกิจ
“การทุจริตคอรัปชั่น” หมายความว่า การใช้อำนาจที่ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ของบริษัท ตนเอง หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น รูปแบบของการทุจริตคอรัปชั่นให้หมายถึงสินบน สิ่งของที่มีมูลค่า สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด การมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐ และระหว่างบุคคลหรือกิจการในเอกชนด้วยกันเอง
“การติดสินบน” หมายความว่า การเสนอ การสัญญา หรือการมอบ รวมทั้งการเรียกร้อง หรือรับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีมูลค่า ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจ หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
“สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรีที่ให้เป็นรางวัล หรือให้เป็นสินน้ำใจ การให้สิทธิพิเศษ ตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋ว หรือหลักฐานอื่นใด
Say no to corruption
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น บริษัทฯ มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับของบริษัทฯ หรือบุคคลใดๆซึ่งได้รับมอบอำนาจ หรือปฏิบัติหน้าที่แทนในนามของบริษัทฯนั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์และสุจริต และไม่กระทำการใดๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่บริษัทฯโดยมิชอบ หรือเพื่อตนเอง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ โดยจะปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่เรียกร้อง สนับสนุน ยอมรับการให้สินบน หรือการทุจริตทุกรูปแบบและกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทฯ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของบริษัทฯ โดยมิชอบ หรือประโยชน์ต่อส่วนบุคคลของพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงการบริจาคเพื่อการกุศล การให้ของขวัญทางธุรกิจ และการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆไม่ว่าที่เป็นรูปอธรรมหรือไม่ การดำเนินการบริษัทฯ ต้องมีความโปร่งใสและไม่มีแนวส่อเจตนาที่จะเข้าข่ายทุจริต และไม่โน้มน้าวเจ้าหน้าที่ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการอันมิชอบอันเป็นผลประโยชน์โดยมิชอบแก่บริษัทฯ บริษัทฯ จะทบทวนแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนสอบทานการปฏิบัติตามหน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับ ระเบียบของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และข้อกำหนดทางกฎหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบ
responsibilities
1. คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตและปลูกฝังภายใต้จิตสำนึกของพนักงานให้เป็นกิจลักษณะในการดำเนินงานจนเป็นวัฒนธรรมแห่งองค์กร
2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแล ตรวจสอบและสอบทานนโยบายการต่อต้านการทุจริตว่ามีความเหมาะสม โปร่งใส รัดกุม ทันสมัย และมีประสิทธิภาคเคียงคู่ไปกับดำเนินงานของบริษัทฯ ตามมาตรฐานสากล รวมถึงกำกับดูแลการควบคุมภายใน การจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบตรวจสอบภายใน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านทุจริต รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริต และทำการรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอพร้อมให้คำแนะนำข้อควรปฏิบัติแก่คณะกรรมการบริษัทฯ
3. คณะกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การสนับสนุนต่อนโยบายต่อต้านการทุจริต เพื่อส่งสารไปยังพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามกฎหมายในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
4. หน่วยงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและอย่างถูกต้องตามนโยบาย แนวปฏิบัติ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
แนวทางการปฏิบัติ
Practical Approaches
1. กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานและเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯทุกระดับจะต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตอย่างเคร่งครัด โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวกับการทุจริตในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. ห้ามมิให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ของบริษัท เรียกร้อง ดำเนินการ พึงละเลย เพิกเฉย หรือยอมรับการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่างทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้แก่บริษัทฯ หรือต่อตน และจะต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัยจะต้องทำการปรึกษาบุคคลที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดนโยบายของบริษัทฯ ผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ภายในบริษัทฯ
3. บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานผู้ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริต
4. ห้ามมิให้รับสินบนในรูปแบบใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือประโยชน์ใดๆ อันมิชอบ และห้ามมอบหมายให้ผู้อื่นให้หรือรับสินบนแทน
5. การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในจรรยาบรรณของบริษัทฯ
6. บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการต่อต้านทุจริตทั้งในด้านฝ่ายบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาและคัดเลือกพนักงาน การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานที่สะท้อนต่อการส่งเสริมนโยบายต่อต้านการทุจริต
7. บริษัทฯ จะไม่ดำเนินการใดๆแก่เจ้าพนักงานผู้ปฏิเสธการทุจริตไม่ว่าจะเป็นการรับหรือการให้ต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
8. บริษัทฯ มีกระบวนการอบรมพนักงานใหม่ให้ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านทุจริตอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่างๆ ให้พร้อมต่อการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องและเหมาะสมของการดำเนินกิจการ
9. บริษัทฯ ไม่มีนโยบายช่วยเหลือทางการเมืองใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
10. บริษัทฯ จะบริจาคเพื่อการกุศล และมอบเงินสนับสนุนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อศีลธรรมเท่านั้น โดยจะต้องไม่มีผลกระทบใดๆที่ส่งผลเสียหายต่อสังคมส่วนรวม และการให้หรือรับเงินสนับสนุนนั้น จะต้องไม่เข้าข่ายแนวโน้มที่จะทำให้บริษัทฯ ได้ผลประโยชน์ หรือมีข้อได้เปรียบกว่าหน่วยงานอื่นจากทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน
11. คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายต่อต้านทุจริตต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างน้อยปีละครั้งอย่างสม่ำเสมอ
การสื่อสารขององค์กร
Corporate Communication
เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรทั้งหมดได้รับทราบแนวทางและนโยบายการปฏิบัติตนเพื่อต่อต้านการทุจริตอย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึง บุคลากรทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายฉบับนี้ เพื่อช่วยให้มั่นใจได้ว่าพนักงานทุกคนรับทราบและตระหนักถึงนโยบายของบริษัทฯ ที่จะต่อต้านการทุจริต การอบรมนโยบายนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมบุคลากรใหม่ก่อนเข้าการรับตำแหน่งทุกคน และสามารถหาอ่านติดตามพร้อมการเปลี่ยนข้อมูลนโยบายการต่อต้านทุจริตนี้ได้ผ่านช่องทางการสื่อสารของ บริษัทฯ จดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (E-Mail) หรือประกาศบริษัทฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนและมาตรการคุ้มครองผู้รายงาน
Channels for reporting clues or complaints and measures to protect the reporter
บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางในการรายงานหากพบเห็นการฝ่าฝืนหรือพบเห็นการกระทำทุจริตสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ต่อบุคคลที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ บทลงโทษ หากมีการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่กล่าวไว้ พนักงานผู้ซึ่งกระทำการทุจริตไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามกฎระเบียบของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ และต้องรับผิดชอบใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทฯ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว นโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริต คณะกรรมการบริษัทฯ ได้เห็นชอบให้มีการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตต่อหน้าที่ เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริษัทฯ ได้ทราบเรื่องถึงพนักงานที่กระทำการผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับทำงาน ศีลธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะคุ้มครองผู้ที่เปิดเผยข้อมูลโดยสุจริต
Technologies for better and safer society
AA. NUCTECH
THAILAND
Copyright@2021